ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน แก้ไขได้ไหม ? รู้เท่าทันสาเหตุ วิธีแก้ไข เลือกฉีดอย่างปลอดภัย

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในแวดวงเสริมความงาม แม้การฉีด Filler หรือฟิลเลอร์ จะเป็นวิธีที่นิยมในการเติมเต็มริ้วรอยให้ตื้นขึ้น แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากการเป็นก้อนแล้ว อาการบวมก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่อาจพบเจอเช่นกัน

บทความนี้ Beautyrich จะอธิบายถึงสาเหตุ อันตราย และวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้คุณเข้าใจและเตรียมพร้อมก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์

สารบัญ ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน


ทำไมฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เกิดจากอะไร ?

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • การเลือกชนิดฟิลเลอร์ไม่เหมาะสม : ฟิลเลอร์ที่มีความหนาแน่นสูง ควรฉีดในชั้นผิวลึก หากฉีดในชั้นตื้นอาจทำให้เกิดก้อนบวมได้ เช่น การใช้ฟิลเลอร์แข็งและเหนียวฉีดใต้ตา อาจทำให้เกิดก้อนแข็งใต้ตา
  • การฉีดผิดตำแหน่ง : เช่น ฉีดลึกหรือตื้นเกินไป รวมถึงการใช้ปริมาณฟิลเลอร์มากเกินความจำเป็นในจุดที่ต้องการฉีด
  • แพทย์ขาดประสบการณ์ : แพทย์ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอในการฉีดฟิลเลอร์ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดก้อนบวมได้ เพราะแพทย์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์แต่ละชนิดที่นำมาฉีด รวมถึงโครงสร้างสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์
  • ใช้ฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐาน : ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองจาก อย. หรือฟิลเลอร์ปลอม อาจทำให้เกิดก้อน ไหลย้อย หรือไม่เป็นทรง ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาต้องขูดออกหรือผ่าตัดออกเท่านั้น เพราะไม่มีตัวยาที่นำมาฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้

หากพบว่าหลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน แต่ไม่ได้เป็นก้อนใหญ่มาก ควรรอดูอาการประมาณ 3 วัน เพราะอาจเป็นเพียงอาการบวมชั่วคราว ซึ่งมักหายไปเองภายใน 3-4 สัปดาห์ โดยฟิลเลอร์จะค่อย ๆ ผสานรวมตัวกันกับเนื้อเยื่อ ไม่จำเป็นต้องกดหรือนวดคลึงบริเวณที่เป็นก้อน


ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน อันตรายหรือไม่ ?

การเกิดก้อนหลังฉีดฟิลเลอร์อาจก่อให้เกิดความกังวลใจ แต่ความอันตรายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

  • ขนาดและตำแหน่งของก้อน : ก้อนขนาดเล็กที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญ อาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก แต่หากก้อนมีขนาดใหญ่หรืออยู่ใกล้กับอวัยวะสำคัญ เช่น ตา อาจเป็นอันตรายได้
  • การติดเชื้อ : หากก้อนที่เกิดขึ้นมีการติดเชื้อ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น การอักเสบลุกลามหรือการเกิดฝี
  • การอุดตันเส้นเลือด : ในกรณีที่รุนแรง ก้อนฟิลเลอร์อาจกดทับหรืออุดตันเส้นเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดเลือดของเนื้อเยื่อในบริเวณนั้น
  • ผลกระทบทางจิตใจ : แม้ว่าก้อนฟิลเลอร์อาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายโดยตรง แต่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและสุขภาพจิตของผู้รับการฉีดฟิลเลอร์ได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่การฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง และสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการทางการแพทย์ที่เหมาะสม การไปพบแพทย์ทันทีเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม

อาการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน พบได้บ่อยบริเวณไหนบ้าง ?

การฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายบริเวณของใบหน้า แต่มีบางจุดที่อาจเป็นก้อนได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น ดังนี้

  • ฟิลเลอร์ใต้ตา เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ในชั้นผิวที่ตื้นเกินไป ทำให้ฟิลเลอร์นูนขึ้นเหนือชั้นกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เห็นเป็นก้อน บวม หรือเกิดถุงใต้ตา บางครั้งอาจมีลักษณะย้อยลงมา
  • ฟิลเลอร์หน้าผาก มักเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ในชั้นผิวที่ตื้นเกินไปเช่นกัน เมื่อกล้ามเนื้อหน้าผากเกิดการหดเกร็ง จะทำให้ผิวหน้าผากเป็นคลื่น ไม่เรียบเนียน หรือนูนเกินไป
  • ฟิลเลอร์ปาก เกิดจากการใช้ปริมาณฟิลเลอร์มากเกินความจำเป็น ทำให้ริมฝีปากดูอวบอิ่มเกินพอดี มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเจ่อออก คล้ายปากเป็ด ดูไม่เป็นธรรมชาติ
  • ฟิลเลอร์คาง มักเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ในชั้นผิวที่ตื้นเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อดึงฟิลเลอร์มารวมกันเป็นก้อน ส่งผลให้เวลาพูดหรือยิ้ม จะเห็นคางย้อย หรือคางยาวแหลมผิดรูป คล้ายคางแม่มด

ผลข้างเคียงที่พบหลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

เมื่อฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน อาจพบผลข้างเคียงได้หลายรูปแบบ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม มีอาการติดเชื้อ อักเสบ

หากฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดก้อนบวม และมีผลข้างเคียงตามมา คือ การอักเสบหรือติดเชื้อ เป็นภาวะที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ผู้ที่ได้รับการฉีดฟิลเลอร์ควรสังเกตอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

  • ปวดรุนแรงกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสหรือกดบริเวณที่เป็นก้อน
  • มีอาการบวมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์
  • สีผิวบริเวณที่ฉีด อาจมีลักษณะแดงหรือคล้ำ ผิดไปจากผิวปกติ
  • มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่น สามารถตรวจสอบได้โดยใช้หลังมือแตะเบา ๆ คล้ายกับการวัดไข้

หากพบอาการเหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ควรรีบติดต่อแพทย์โดยทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงการฉีดสลายฟิลเลอร์เพื่อแก้ไขปัญหา การรักษาที่รวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมา

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม แบบไม่ติดเชื้อ ผิวไม่เรียบเนียน

การฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดก้อน หรือผิวไม่เรียบเนียนที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เป็นผลข้างเคียงที่อาจพบได้ ผู้ที่ได้รับการฉีดฟิลเลอร์ควรสังเกตอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

  • บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์มีลักษณะเป็นก้อนหรือขรุขระ ไม่เรียบเนียนเหมือนผิวปกติ
  • ใบหน้าหรือบริเวณที่ได้รับการฉีดดูผิดปกติ ไม่กลมกลืนกับส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า
  • ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ไม่สวยงามอย่างที่คาดหวัง

สำคัญที่สุดคือต้องรอดูอาการประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงอาการบวมหลังฉีดที่สามารถหายได้เอง หากพบว่าอาการยังคงอยู่หลังจากระยะเวลาดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินและหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม


ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มีวิธีแก้อย่างไร ?

ปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มีวิธีการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีประสบการณ์เท่านั้น เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยวิธีการแก้ไขปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนมี 3 วิธีหลัก ดังนี้

การฉีดสลายฟิลเลอร์

วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ชนิดกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid: HA) ซึ่งเป็นฟิลเลอร์แท้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย การแก้ไขทำได้โดย

  • แพทย์จะใช้เอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase: HYAL) ฉีดเพื่อสลายฟิลเลอร์
  • ปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับปริมาณฟิลเลอร์ที่ฉีดไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อส่วนอื่น
  • ผลลัพธ์จะเห็นได้ทันทีในบางส่วน และจะเห็นผลต่อเนื่องภายใน 1-3 วัน
  • หากต้องการฉีดฟิลเลอร์ใหม่ ควรรอประมาณ 1 สัปดาห์หลังการฉีดสลาย
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน วิธีแก้

การขูดฟิลเลอร์

วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ใช่ชนิด HA หรือฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายเองได้ตามธรรมชาติ เช่น Polyamine (Aqualift) หรือ Hydrofilic gel โดย

  • แพทย์จะทำการขูดฟิลเลอร์ออกด้วยวิธีทางการแพทย์
  • อาจไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกได้สมบูรณ์ 100% โดยทั่วไปสามารถกำจัดได้ประมาณ 60-70%
  • อาจต้องทำหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

การผ่าตัดเพื่อนำฟิลเลอร์ออก

การผ่าตัดเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับกรณีที่รุนแรง เช่น ผู้ที่ฉีดซิลิโคนเหลวจนเกิดก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก หรือผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์มานานจนเกิดพังผืดเกาะ วิธีนี้มักใช้เมื่อวิธีอื่น ๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดอาจไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกได้หมด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฉีด นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงต่อการกระทบเส้นประสาทและเส้นเลือดสำคัญ ดังนั้น จึงควรปรึกษาศัลยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุด


สรุปเรื่องหลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

ปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดฟิลเลอร์ โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย และอาจส่งผลต่อความสวยงาม แม้จะไม่อันตรายร้ายแรง แต่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ซึ่งมีวิธีการแก้ปัญหาหลายแบบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ควรเลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่มีประสบการณ์ และใช้ฟิลเลอร์แท้ หากเกิดปัญหา ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ